[HCI1] Human
มะนุด
ทุกวันมีอะไรหลายอย่างที่เราดู เราฟัง เรากิน เราได้ยิน เราจับเราโดน เยอะแยะไปหมด รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง เป็นแบบนี้เป็นเรื่องปกติของเรา เรารับรู้ เราคิด แล้วเราก็ทำ แต่เราไม่เคยมาสนใจว่า ทำไมเราถึงทำสิ่งต่างๆ แบบนั้นกันนะ?
ในการที่เราจะมาออกแบบสิ่งๆ หนึ่งมาเพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ได้นั้น เราเองก็ต้องศึกษาตัวเราเองเสียก่อน ว่าตัวเราเองนั้นมี Input Output อะไรบ้าง โดยสำหรับหัวข้อนี้แล้ว ใจความสำคัญก็คือ "มนุษย์มีขอบเขตและความสามารถในการประมวลผลข้อมูลอย่างจำกัด" ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า มนุษย์รับรู้ ประมวลผล และแสดงออกอย่างไร อะไรเป็นปัจจัยอื่นๆ บ้าง โก!
Basic Input of Human
Visual 👀
เนื่องจากสมองเราประมวลผลได้จำกัด สิ่งที่เห็นอาจจะต่างจากสิ่งที่เป็นจริงก็ได้
ภาพลวงตา (Optical Illusion)
สี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่รู้สึกว่าไม่จัตุรัส
ดีไซน์ส่งผลต่อการมองเห็น องค์ประกอบต่างๆ จะช่วยพัฒนาการรับรู้ของมนุษย์
Sound 👂
คนมีหู ดังนั้นใช้เสียงให้เป็นประโยชน์ เช่น
เป็นเสียง feedback เช่น เสียงเปิดแอร์
เสียงเตือนของมือถือ
เสียงเตือนไฟไหม้
Touch 🖖
Design ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับคอมอย่างเดียว
การออกแบบโดยใช้การสัมผัสให้เป็นประโยชน์มีมากมาย เช่น
ปุ่มนูนบนแป้นเหย้าบนคีย์บอร์ด (บนตัว F กับ J)
อักษรเบรลล์บนปุ่มลิฟต์
เบรลล์บล็อกบนทางเท้า (ซึ่งในเมืองไทยก็จะหาแบบดีๆ ยากหน่อย)
มือถือสั่นเวลากด
Movement 💃
เวลาเราออกแบบ User Interface ในคอมพิวเตอร์ เรามักจะต้องใช้อะไรสักอย่าง navigate UI นั้น ไม่ว่าจะเป็นเมาส์ เมาส์ปากกา ทัชแพด ทัชด้วยมือตรงๆ ฯลฯ
ซึ่งรูปแบบการ navigate นี้สำคัญมาก เพราะแต่ละแบบมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน
พูดง่ายๆ คือ ยิ่งออกแบบให้ใหญ่ยิ่งดี หรือทำให้มันใกล้ๆ กับมือ (หรือตำแหน่งของ cursor ล่าสุด) จะได้กดง่ายๆ
Gestalt Theory
The whole is more than the sum of its parts
Gestalt Theory อธิบายง่ายๆ ว่า สิ่งมีชีวิตรับรู้สิ่งต่างๆ เป็นกลุ่มก้อนหรือรูปแบบ ไม่ได้รับรู้แยกเป็นส่วนๆ โดยมี 4 ข้อหลักๆ คือ
Proximity: คนจะรับรู้ว่าสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ กันเป็นพวกเดียวกัน
Similarity: คนจะรับรู้ว่าของเหมือนกันคือกลุ่มเดียวกัน
Closure: คนสามารถรับรู้โดยคร่าวก็พอ เดี๋ยวสมองจะเติม (fill in the blank) ให้เอง
Continuity: คนจะรับรู้แล้วคล้อยตามสิ่งที่ดูต่อเนื่องกัน
Memory
Sensory: ความจำที่เกิดจากสัมผัสของคน แต่เราไม่ได้ใส่ใจกับมัน จึงมาแล้วไปอย่างรวดเร็ว
Short Term: ความจำที่เกิดจากการที่เราดันไปใส่ใจอะไรอย่างหนึ่ง จึงเกิดส่วนนี้ขึ้นมา
Long Term: ความจำที่เกิดจากการทำซ้ำๆ ทบทวนบ่อยๆ จนร่างกายถูก stimulate เป็นประจำจนจำได้
Output
ใช้เหตุผล (Reasoning)
แก้ปัญหา (Problem Solving)
ผิดพลาด (Errors)
Slip: รู้แต่ไม่ได้ใส่ใจ ลืม เบลอ อ๊อง ฯลฯ
Mistake: ไม่รู้ เลยผิด
Other Factors
อารมณ์ (Emotion): ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์เต็มๆ เลย อันนี้ทุกคนน่าจะรู้ เวลาเศร้ามากๆ นี่คือคิดอะไรไม่ไหว การรับรู้ (perception) เราเปลี่ยนไปหมด
ความแตกต่างทางด้านร่างกาย (Individual Differences): บางครั้งคนอื่นๆ ก็อาจจะทำบางอย่างได้ไม่เหมือนตัวเราเองด้วยปัจจัยอื่นๆ ที่ควบคุมได้หรือไม่ได้ก็ได้ เช่น
Long Term: เพศ (เปลี่ยนไม่ได้) สภาพร่างกาย (มีความพิการ) Intellectual Capabilities
Short Term: ความเครียด ความล้า
Last updated
Was this helpful?