[STA1] Experiment, Sample Space, Event
การทดลอง ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์
การทดลอง (Experiment)
การทดลองก็ตามชื่อเลย คือลองทำมันเลยจ้า 😂
แน่นอนว่าพอเราลองแล้วมันก็จะได้ผลลัพธ์ออกมา เราก็จดตัวผลลัพธ์ไว้สวยๆ 📝
ซึ่งการทดลองพวกเนี้ย มันจะแบ่งออกไปได้ 2 แบบคือ:
1. การทำลองแบบรู้ผลแน่นอน — ทุกคนรู้ เพื่อนฉันรู้ 😂
คือเจ้าตัวเนี้ยมันจะสามารถคำนวณเลขหรือให้คำตอบออกมาได้อย่างเดียว เราก็เลยเรียกมันว่ารู้ผลแน่นอน เช่น:
โยนลูกบอลขึ้นฟ้าแล้วมันต้องตกลงมาตามแรงโน้มถ่วงแน่นอน ⚽
คำนวณโพรเจกต์ไทล์ลูกระเบิด 💣
ฝากเงินแล้วได้ดอกเบี้ยตามกฎของธนาคารแน่นอน 💰
เป็นต้น อย่างที่บอกไป ของพวกนี้มันมีคำตอบแค่อย่างเดียวเลยไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไร 🤷♀️
2. การทดลองแบบสุ่ม — ตัวเนี้ยน่าสนใจ…
หลักการของมันคือ มันจะหาค่าแน่นอนไม่ได้ แต่มันจะหาความน่าจะเป็นของคำตอบได้!
เช่น การโยนเหรียญเที่ยงตรง (โจทย์คลาสสิก)
การโยนเหรียญเที่ยงตรงเนี่ย เราก็รู้กันทุกคนแหละว่าผลลัพธ์ที่จะออกมาจะมันมีได้แค่ 2 อย่างคือ "หัว" กับ "ก้อย" ซึ่งเราบอกไม่ได้หรอกว่าโยนรอบต่อไปในชีวิตมันจะได้อะไร แต่เราบอกได้ว่า "มันมีโอกาสออกหัวก้อยได้ 50/50"
ซึ่งแน่นอนว่าเราเรียนสถิติไปเพื่อแก้ปัญหาเจ้าตัวการทดลองแบบที่ 2 นั่นแหละ แต่ก่อนเราจะไปหาว่า ทำนู่นทำนี่แล้วจะมีโอกาส % เท่าไร เราต้องรู้เรื่องถัดไปก่อน นั่นก็คือ…
ปริภูมิตัวอย่าง (Sample Space)
ข้างต้น… หลังจากนี้เราจะใช้คำว่า Sample Space นะ เหตุผลคงรู้ๆ กัน 😓
อ่ะลองมาดูตัวอย่างกัน
ตัวอย่างที่ 1:
การทดลอง: โยนเหรียญ 1 เหรียญ (โยนแล้วได้หน้าของเหรียญ)
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (จุดตัวอย่าง): หัว, ก้อย
ตัวอย่างที่ 2:
การทดลอง: ทอดลูกเต๋า 6 ด้าน 1 ลูก (ทอดแล้วได้ลูกเต๋าทอด เอ้ย ได้แต้มจากหน้าบนของลูกเต๋า)
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น: 1, 2, 3, 4, 5, 6
ตัวอย่างที่ 3:
การทดลอง: เล่นเกมจนกว่าจะชนะ (เล่นแล้วได้ผลแพ้ชนะ)
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น: ชนะ, แพ้-ชนะ, แพ้-แพ้-ชนะ, …
ตัวอย่างที่ 4:
การทดลอง: ยืนจับเวลารอรถหน้ามหาลัยฯ (จับเวลาแล้วได้เวลากว่าที่รถจะมาถึง)
จากตัวอย่างที่ 1 กับ 2 เราจะเห็นว่า Sample Space ของสองตัวเนี้ยจะง่ายๆ ออกมาเป็นตัวๆ แต่ในตัวอย่างที่ 3 กับ 4 เราจะพบว่า Sample Space มันเริ่มซับซ้อนขึ้น แถมยังเป็นเซตของช่วงได้อีก เราเลยบอกว่า Sample Space เนี่ยมันจะมีอยู่ 2 แบบ คือ:
Sample Space จำกัด: คือมันนับได้ ต่อให้เยอะแต่ถ้านับไหวก็คือนับได้ เช่นตัวอย่าง 1 กับ 2 นับได้เลยว่ามีกี่ตัว
Sample Space อนันต์: อ่ะถ้าตัวเนี้ยคือนับไม่ได้ ยิ่งนับยิ่งเยอะ พวกนี้มักจะคล้ายๆ กับตัวอย่างที่ 4 คือมีผลลัพธ์เป็นช่วงของจำนวนอะไรสักอย่างแล้วไม่มีลิมิต แต่เพื่อความปลอดภัยยังไง recheck ก่อนนะว่ามันนับไหวป่าว (นับไหว → นับได้)
พอเรารู้แล้วว่าการทดลองสุ่มของเราจะให้ผลลัพธ์อะไรออกมาบ้าง เราก็จะเอาการทดลองของเรามาดัดแปลงเพื่อให้ได้สิ่งที่เราอยากได้ ซึ่งก็จะต้องพูดถึงเรื่อง…
เหตุการณ์ (Event)
เราอาจจะสังเกตว่า การทดลองสุ่มที่เรายกขึ้นมาแต่ละอันนั้นมันจะให้ Sample Space ออกมาแค่อย่างเดียว เหมือนกันเสมอๆ
แต่จริงๆ เราสามารถ modify ให้มันละเอียดขึ้นได้โดยการกำหนดเหตุการณ์เพิ่มเติมลงไป ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็จะให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นเซตเหมือน Sample Space ซึ่งอาจจะมีทุกตัวหรือบางตัวก็ได้ (อ้างอิงจากนิยามที่ว่า "เป็นเซตย่อยของปริภูมิตัวอย่าง") เอาเป็นว่า เรามาดูตัวอย่างเรื่องของการกำหนดเหตุการณ์จากการทดลองสุ่มกันก่อนดีกว่า
เหตุการณ์ A: เมื่อทอดลูกเต๋าแล้วได้แต้มน้อยกว่า 7
เหตุการณ์ B: เมื่อทอดลูกเต๋าแล้วได้แต้มคี่
เหตุการณ์ C: เมื่อทอดลูกเต๋าแล้วได้ค่าที่น้อยที่สุด
จากการทดลองสุ่มนี้ เราจะเห็นว่าเหตุการณ์ 3 ตัวนี้จะส่งผลให้ผลลัพธ์จาก Sample Space เดิมนั้นเปลี่ยนไป (ผลลัพธ์เปลี่ยนนะ ไม่ใช่ Sample Space เปลี่ยน — Sample Space คือสิ่งที่เป็นไปได้_ทั้งหมด_) นั่นคือ:
แน่นอนว่าเหตุการณ์ก็ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ:
เหตุการณ์อย่างง่าย: ก็คือมีสมาชิก 1 ตัว เช่นเหตุการณ์ C ที่ยกตัวอย่างไป
เหตุการณ์ประสม: ตัวนี้จะมีสมาชิกมากกว่า 1 ตัว เช่น เหตุการณ์ A กับ B ตามที่ยกตัวอย่างไปเช่นกัน
นอกจากนี้ เจ้าเหตุการณ์พวกนี้ก็ยังเขียนเป็นเซตได้เหมือนกัน ดังนั้น การดำเนินการระหว่างเซตจะทำให้เกิดเหตุการณ์ใหม่ ❤️ เช่น:
จะเห็นว่าเราจะสามารถสร้างเหตุการณ์ใหม่ๆ ขึ้นได้เยอะเลย 😄
แต่…
บางเหตุการณ์เมื่อเราเอามาดำเนินการกันแล้ว อาจจะได้เซตว่างก็ได้นะ 🤔 เช่น:
แน่นอนว่าเรารู้อยู่ละว่ายังไงลูกเต๋ามันจะเกิดหน้าคู่และคี่พร้อมกันไม่ได้แน่ๆ มันเลยให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นเซตว่างหรือก็คือ ไม่มีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น
เราจะเรียกเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เอามาอินเทอร์เซ็กต์กันแล้วได้เซตว่างเนี้ยว่า "เหตุการณ์ที่เกิดร่วมกันไม่ได้ (mutually exclusive)" ❤️
ทั้งหมดที่เราได้พูดไปแล้วก็คือเรื่องของ "เหตุการณ์ (Event)" และสิ่งที่เกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ ในส่วนนี้อาจจะยืดยาวหน่อย ถ้าไม่เข้าใจลองเปิดหาตัวอย่างเพิ่มเติมได้เลยนะ 🔎
เอาเป็นว่า เราไปดูสรุปกันดีกว่า 😄
สรุปเนื้อหา
การทดลอง (Experiment):
ลองทำ → ได้ผลลัพธ์
2 แบบ:
รู้ผลแน่นอน: คำนวณหาค่าที่แน่นอนได้
สุ่ม: หาค่าแน่นอนไม่ได้ แต่หาความน่าจะเป็นได้
ปริภูมิตัวอย่าง (Sample Space):
เซตของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด
2 แบบ:
จำกัด: นับได้ (ต่อให้เยอะ ถ้านับได้ก็เป็น)
เหตุการณ์ (Event):
เซตย่อยของ S
2 ประเภท:
ง่าย: มีตัวเดียว
ประสม: มีหลายตัว
ก็จบลงไปแล้วสำหรับ EP1 เนอะ ใจจริงก็อยากจะเขียนทั้งบทที่ 1 ให้มันจบๆ ไปเลย แต่โอ้โหเราพิมพ์ขยายความไปเยอะมากๆ 😂 เอาเป็นว่าถ้าว่างๆ แล้วก็จะมาพิมพ์ลงให้อีกน้า แล้วเจอกันใน EP2 จ้า 👋
Last updated
Was this helpful?