[HCI2] Computer
คณิตกรณ์
Last updated
Was this helpful?
คณิตกรณ์
Last updated
Was this helpful?
รอบที่แล้วเราพูดเกี่ยวกับเรื่องคนไปว่าเรามีอะไรหรือปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการกระทำของเรา วันนี้เราก็มาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้ก็คือ "คอมพิวเตอร์" นั่นเองงง
เวลาเราพูดถึง Interaction ในแง่ของคอมพิวเตอร์แล้ว มันคือสิ่งที่ทำให้ข้อมูลไหลจากคนเข้าสู่/ออกจากคอมพิวเตอร์ได้ หรือก็คือ Input Output นั่นเอง ทำจึงต้องมาดูด้วยว่า คอมพิวเตอร์มี Input Output อะไร แล้วเราจะสามารถทำอะไรเพื่อเชื่อมเข้ากับ Input Output ของเรา (คน) ได้บ้าง
ดังนั้นในบทนี้ เราจะมาพูดถึง Input Output รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ของคอมพิวเตอร์กัน โก!
Input ก็คือ สิ่งที่ทำให้ข้อมูลจากคนไหลเข้าคอมได้ แน่นอนว่าก็มี input หลักคล้ายๆ กับที่เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็กแล้วก็คือ
ข้อความ (Text): หลักๆ ก็คือคีย์บอร์ด ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ดธรรมดา, , ใช้ Touchscreen หรือถ้าไม่ใช้คีย์บอร์ด จะใช้ไมค์โครโฟนทำ Speech recognition ก็ได้ หรือใช้ Handwriting recognition ก็ได้
ชี้/บอกตำแหน่ง (Pointing/Positioning): ใช้เมาส์ ทัชแพด เมาส์ปากกา หรือเดี๋ยวนี้จะโม eye tracking device มาเป็น pointing device ก็ได้
ภาพ (Image): ใช้กล้อง
เสียง (Sound): ใช้ไมค์โครโฟน จะอัดเสียง อัดเพลง อะไรก็ว่าไป
อื่นๆ เช่น MIDI Input หรือพวก Sensor ต่างๆ ที่ต่อได้ผ่านทาง USB เป็นต้น
หลังจากเอาข้อมูลไหลเข้าคอมได้แล้ว คราวนี้มาดูว่าอะไรทำให้ข้อมูลไหลออกจากคอมบ้าง
ข้อความ (Text): หลักๆ เราอ่านข้อความจากจอภาพเนอะ หรือจะใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้ อีกวิธีที่ทำได้ที่คนตาบอดใช้ก็คือใช้เครื่อง แสดงตัวอักษรเบรลล์ออกมาเพื่อให้คนใช้นิ้วอ่านได้
ชี้/บอกตำแหน่ง (Pointing/Positioning): ก็ใช้จอนี่แหละ
ภาพ (Image): ก็ยังใช้จออยู่... อ้อ ใช้โปรเจกเตอร์ก็ได้นะ
เสียง (Sound): ใช้ลำโพง
อื่นๆ เช่น จอยสติ๊กสั่นเวลาโดนดาเมจ เป็นต้น
Memory หลักๆ ก็มี 2 แบบ
Short Term: RAM
Long Term: HDD, SSD, หรือจะบันทึกลง Floppy disc, CD, DVD, Blu-ray ก็ได้ ถ้ายังใช้กันอยู่
โดยทั้ง Memory และ Processor นั้น แน่นอนว่ามี Speed และ Capacity ที่จำกัด (แต่ถ้าเรารวย เราจะใช้เงินแก้ปัญหาได้ 🤑)
ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ผิด เพราะ Trend ในตอนนั้นมันเป็นแบบนั้นจริงๆ แต่เอาเข้าจริงๆ ในปัจจุบันก็เริ่มมีบทความออกมาแล้วว่าตอนนี้เราทำชิปที่ transistors มันเล็กม๊ากมากจนมันแทบจะไปต่อไม่ได้แล้ว พูดง่ายๆ คือ เวลตัน
ก็คือ เราทำชิปให้มันเล็กลงๆ จนจะเข้าโลกควอนตัมแล้ว ซึ่งฟิสิกส์ในโลกควอนตัมมันไม่เหมือนกับฟิสิกส์ในโลกคนยักษ์ได้ ทำให้ความแม่นยำลดลง และทำให้ความพยายามที่เราจะทำคอมแรงๆ มันตันอ่ะนะ แน่นอนว่าในอนาคต Moore's Law (ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่ Law) ก็อาจจะไม่ relevant อีกแล้ว
อ่านๆ มาแล้ว Human Computer Interaction ก็ดูเหมือนจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลยกับ Moore's Law แต่จริงๆ แล้วมันคือการบอกว่าคอมพิวเตอร์เรามีลิมิตในตัวของมันเอง การออกแบบ interaction ต่างๆ ก็ควรคำนึงถึงเรื่องพวกนี้ด้วย ไม่ต่างจากการคำนึงถึงคนที่ใช้ด้วย (จะได้ไม่ดูกระตุก)
แอบขยายโดเมนของหัวข้อนี้เพิ่มเติมสักหน่อย ในอุปกรณ์อื่นๆ ในชีวิตเรา เราก็มักจะเจอ Input Output หรือ Interface ต่างๆ อยู่มากมาย เช่น
เครื่องซักผ้า: เรามี Input เป็นปุ่มหมุนเป็น หรือถ้าเป็นแบบดิจิตอลเราก็จะใช้การกดปุ่ม ซึ่งก็จะมี Interface เป็นเวลาดิจิตอล ส่วน Output ก็คือการที่เราได้การปั่นผ้านี่แหละ
ไมโครเวฟ: เรามี Input เป็นปุ่มหมุนหรือปุ่มกดเวลาคล้ายๆ เครื่องซักผ้า แล้วเราได้คลื่นไมโครเวฟเป็น Output
จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์เท่านั้นที่มี Input Output แต่สิ่งรอบๆ ตัวเราล้วนมี Input Output หมดเลย ซึ่งการออกแบบ Interaction ก็จะช่วยให้คนที่ใช้สามารถถ่ายทอดข้อมูลหรือความต้องการต่ออุปกรณ์นั้นๆ ได้ถูกต้อง แม่นยำ
ถึงจะมีคำว่า Law อยู่ในชื่อ แต่จริงๆ แล้ว Moore's Law เป็นการสังเกตและคาดคะเนโดยคุณ Gordon Moore ว่าจำนวน Transistors ในชิป IC เนี่ย มันจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุกๆ 2 ปี ()
ขอ quote จากมาแบบไม่แก้อะไรเลยนะ แต่ point ตรงไปตรงมามาก
As we continue to miniaturize chips, we’ll no doubt bump into , which limits precision at the quantum level, thus limiting our computational capabilities. that, due to the uncertainty principle alone, Moore’s Law will be obsolete by 2036.
ฝากติดตามซีรีส์ ด้วยจ้า เดี๋ยวจะกลับไปเขียนเร็วๆ นี้แหละ